ตอกเส้นและบ่งต้อ

การนวดตอกเส้น

เป็นวิธีบำบัดรักษาอาการทางกายอีกวิธีหนึ่งของระบบการแพทย์พื้นบ้านล้านนา ที่ได้พัฒนามาจากการเช็ด เป่า แหก เพื่อผ่อนคลายอาการปวดเมื่อย รวมทั้งรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นต่างๆ

 เป็นการรักษาที่คลายเส้นได้เร็วกว่าการนวดไทยเพราะมุ่งเน้นการกระตุ้นจุดหรือเส้นที่สำคัญในร่างกายของคนซึ่งหมอนวดบางคนจะใช้การตอกเส้นควบคู่กับการนวด

การนวดตอกเส้น จะทำให้เส้นที่อยู่ลึกลงไปดีดขึ้นมา จะสามารถทำให้การรักษาเส้นเอ็นต่างๆได้ง่ายขึ้น การนวดตอกเส้น เป็นการกระตุกเส้นที่อยู่ลึกให้สะดุ้งขึ้นมาและกระตุ้นกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นให้เลือดสูบฉีดได้มากขึ้น

วิธีการตอกเส้น

การนวดตอกเส้น จะใช้วิธีการนวดโดยใช้ไม้ลิ่มวางบนร่างกายรองรับแรงที่ตอกจากค้อนลงมา โดยลิ่มและค้อนตอกเส้นจะมีรูปทรงและน้ำหนักที่พอเหมาะในการจับเพื่อตีหรือตอกลงไปบนอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่วางลงบนร่างกาย เพื่อผ่อนคลายความตึงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น

ภาพตัวอย่างการนวดตอกเส้น

บ่งต้อด้วยหนามหวาย

การบ่งต้อ เป็นศาสตร์การรักษาของการแพทย์พื้นบ้านที่สืบทอดกันมาเป็นระยะเวลายาวนานจะทำการรักษาที่หลังผู้ป่วย โดยไม่ยุ่งกับดวงตาผู้ป่วยแต่อย่างใด สามารถรักษาต้อลม ต้อเนื้อ ต้อกระจก ด้วยการใช้หนามหวายขมบ่งที่ตุ่มบริเวณแผ่นหลัง ทั้งนี้ยังสามารถช่วยแก้อาการผิดปกติเช่น แสบตา คันตา น้ำตาไหล

ประโยชน์ของหวายขม

  1. มีความแหลมคมไม่มาก เพราะหากใช้หนามที่แหลมคมมากเกินไปจะทำให้ใยขาดง่าย
  2. มีสรรพคุณทางยา คัมภีร์วิถีกุฏฐโรคบันทึกไว้ว่า “หนามหวายขมใช้รักษาโรคผิวหนัง เพราะมีรสขมและเย็น ช่วยลดอาการอักเสบได้”
  3. มีรูปทรงกรวย ลักษณะเช่นนี้เหมาะต่อการดึงเส้นใยออกมาได้ง่าย